วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความประทับใจในเวียตนาม

ความประทับใจ



เด็กดีดอทคอม :: 4 เรื่องต้องระวังไว้ก่อนไป "เวียดนาม"

สาวเวียดนาม  โดยรวมแล้วคล้ายกับไข่คัดเกรดแล้วอ่ะ มองไปทางไหนก็คล้ายๆกันไปหมด (รูปร่าง)
    - ตัวเล็กๆ  หุ่นบางๆ มีเอวตั้งแต่อกลงมา 
    - การสวมเสื้อผ้าจะสวมกางเกงยีนส์พอดีตัว เสื้อรัดรูปหน่อย เพื่อโชว์สรีระ
    - ไว้ผมยาว มัดรวบเหมือนเด็กอนุบาล เป็นธรรมชาติ ไม่ดัด ไม่ย้อม 
    - หน้าตาไม่เสริมแต่ง เหมือนกุหลาบ งดงามประสาดอกไม้แรกแย้ม

เด็กดีดอทคอม :: 4 เรื่องต้องระวังไว้ก่อนไป "เวียดนาม"

การสวมใส่หมวกกันน็อค ยามขับขี่ ทั้งคนขับและซ้อน
     - เป็นหมวกกันตำรวจมากกว่า  แต่ก็ใส่เกือบทุกคน หนึ่งในพันมั้งที่ไม่ใส่
     - ขับสวนกันผ่านสี่แยกดูแล้วน่าปวดหัวสำหรับเรา  แต่พวกเขาเหมือนกับรู้กันว่าจะให้ใครไปก่อน ประเทศเราก็มีแต่ไม่ค่อยทำ สังเกตป้ายในเมืองตามสี่แยก ที่บอกว่าให้รถทางซ้ายไปก่อน
 การขับขี่ตามความเร็วที่กำหนด เขาทำได้ ในเมืองจะมีป้ายจะระบุความเร็ว ใครฝ่าโดนมีสิทธิโดน เพราะมีตำรวจซุ่มอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้ คอยดักความเร็ว และไม่เห็นตำรวจกักด่านตรวจโน่นตรวจนี่เลย 

เด็กดีดอทคอม :: 4 เรื่องต้องระวังไว้ก่อนไป "เวียดนาม"
  เลิฟซีนกลางแจ้ง !เป็นเรื่องเหลือเชื่อมากๆ เลยค่ะ เพราะโดยรวมแล้ว คนเวียดนามนั้นยังใช้ชีวิตแบบอนุรักษ์ความเป็นเวียดนามอยู่มากๆ แต่ถ้าเราไปเดินตามสวนสาธารณะล่ะก็ เชื่อเลยว่าเราจะต้องได้เห็นเลิฟซีนกลางวันแสกๆ ซัก 2-3 คู่แน่ๆ เพราะหนุ่มสาวเวียดนามเค้าพลอดรักกันแบบโล่งแจ้งมากกกกค่ะ(นึกว่าอยู่ยุโรปซะแล้ว) บางคนจอดมอเตอร์ไซค์แล้วก็จุ๊บกันข้างถนนเลยก็มีนะ ฮ่าๆ 555+ ดังนั้นถ้าใครไปเจอก็ไม่ต้องตกใจนะคะ ถือเป็นเรื่องปกติของบ้านเค้าค่ะ

 


















































































วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

คณะที่ข้าพเจ้าอยากเรียน

สังคมสงเคราะห์

       สังคมสงเคราะห์เป็นสาขาวิชาการและวิชาชีพซึ่งมุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือชุมชน โดยดำเนินการผ่านการวิจัย นโยบาย การจัดการชุมชน การปฏิบัติโดยตรง และการสอนในนามของผู้ที่ประสบความยากจนหรือผู้ที่ได้รับหรือรู้เห็นความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การวิจัยมักมุ่งไปยังขอบเขต เช่น การพัฒนามนุษย์ นโยบายสังคม การบริหารสาธารณะ การประเมินผลโครงการ และการพัฒนาระหว่างประเทศและชุมชน นักสังคมสงเคราะห์จัดเป็นกลุ่มวิชาชีพท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ สังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นแวดวงสหวิทยาการ ครอบคลุมทั้งทฤษฎีวิชาเศรษฐศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา การแพทย์ ปรัชญา การเมืองและจิตวิทยา

ประวัติศาสตร์


สังคมสงเคราะห์มีที่มาในการยกระดับทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่สังคมต่อสู้เพื่อจัดการกับยากจนและปัญหาผลพวง เพราะการจัดการกับความยากจนเป็นความสนใจหลักของสังคมสงเคราะห์ระยะแรก จึงมีความเชื่อมโยงกับมโนทัศน์งานการกุศลอย่างแยกไม่ค่อยออก แต่ปัจจุบันได้มีความหมายกว้างกว่าในอดีตมาก ตัวอย่างเช่น นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่มักไม่ค่อยจักการกับปัญหาผลพวงอันเกิดจาก "ปัญหาสังคม" อื่นทั้งหลาย เช่น การเหยียดเชื้อชาติ การกีดกันทางเพศ การกลัวคนและการเลือกปฏิบัติเพราะอายุหรือความสามารถทางกายหรือจิต แต่นักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่หลายคนก็จัดการกับผลพวงของปัญหาเหล่านี้และปัญหาสังคมอื่นอีกมากในทุกภาคส่วนของงานบริการสังคม เช่นเดียวกับในสาขาอื่น
ขณะที่สังคมสงเคราะห์ดำเนินการบนรากฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าโดยมุ่งควบคุมและปฏิรูปปัจเจกบุคคล (ครั้งหนึ่ง ได้มีการสนับสนุนญัตติว่าความยากจนเป็นโรคอย่างหนึ่ง) ในสมัยปัจจุบันได้มีการใช้แนวเข้าสู่การศึกษาที่มีวิจารณญาณและเป็นองค์รวมมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจและแทรกแซงปัญหาสังคม ตัวอย่างเช่น สังคมสงเคราะห์ปัจจุบันได้นำไปสู่การสร้างกรอบมโนทัศน์ความยากจนใหม่ว่าเป็นปัญหาของผู้มีอันจะกินต่อผู้ไม่มีอันจะกินมากกว่าสถานะในอดีตที่เป็นโรค ความเจ็บป่วยหรือข้อบกพร่องทางศีลธรรมที่ต้องการการรักษา ซึ่งยังชี้ไปยังการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งในวิวัฒนาการของสังคมสงเคราะห์ คือ เมื่อสังคมสงเคราะห์มีส่วนมากขึ้นในการควบคุมสังคม ก็ได้กลายมาเป็นวิชาชีพที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพลังทางสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่านักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการควบคุมสังคม (พิจารณาตัวอย่างเช่น นักคุ้มครองเด็กตามกฎหมาย) และนักสังคมสงเคราะห์ส่วนมากจะตกลงว่าสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่เป็นความตึงเครียดและการถกเถียงที่กำลังดำเนินอยู่

การพัฒนาวิชาชีพร่วมสมัย
สหพันธ์นักสังคมสงเคราะห์สากลแถลงเกี่ยวกับสังคมสังเคราะห์ปัจจุบันว่า
"สังคมสงเคราะห์อาศัยวิธีการจากงานความรู้อิงหลักฐานเป็นระบบ ซึ่งได้มาจากการวิจัยและการปฏิบัติประเมินค่า รวมทั้งความรู้ท้องถิ่นและพื้นเมืองเจาะจงต่อบริบทของมัน สังคมสังเคราะห์เล็งเห็นความซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถของมนุษย์ทั้งที่ได้รับผลกระทบจากและเปลี่ยนแปลงอิทธิพลทั้งหลายที่มีต่อเขาเหล่านั้น รวมทั้งปัจจัยทางชีว-จิตสังคม วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ดึงทฤษฎีการพัฒนามนุษย์ ทฤษฎีสังคมและระบบสังคมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ซับซ้อนและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเปลี่ยนแปลงปัจเจกบุคคล องค์การ สังคมและวัฒนธรรม"

คุณสมบัติ
นักสังคมสงเคราะห์อาชีพโดยทั่วไปพิจารณาว่าผู้นั้นต้องสำเร็จปริญญา นอกจากนี้ มักต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือขึ้นทะเบียนวิชาชีพด้วย
การศึกษานักสังคมสงเคราะห์เริ่มต้นด้วยปริญญาตรีด้านสังคมสงเคราะห์ บางประเทศยังมีการสอนบัณฑิตวิทยาลัยด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น ปริญญาโทหรือปริญญาเอก มีผู้สำเร็จการศึกษาสังคมสงเคราะห์ศึกษาหลังปริญญาเอกเพิ่มขึ้นทุกที มีการถกเถียงว่าการศึกษาสังคมสงเคราะห์ควรเป็นกระบวนการตลอดชีวิต
ในประเทศและเขตอำนาจจำนวนหนึ่ง ผู้ที่ทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องขึ้นทะเบียนหรือการทำใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและมีคุณสมบัติบังคับไว้ ส่วนในประเทศอื่น สมาคมวิชาชีพกำหนดคุณสมบัติทางวิชาการสำหรับการเข้าเป็นสมาชิก ความสำเร็จในความพยายามของหน่วยงานวิชาชีพเหล่านี้ปรากฏในข้อเท็จจริงที่ว่ามีข้อกำหนดเดียวกันรับรองโดยนายจ้างว่าจำเป็นต่อการว่าจ้าง

บทบาทของวิชาชีพ
งานหลักของนักสังคมสงเคราะห์อาชีพมีบริการหลายอย่าง เช่น การจัดการรายกรณี (เชื่อมโยงผู้ใช้บริการกับหน่วยงานและโครงการซึ่งจะเป็นไปตามความต้องการทางจิตสังคมของพวกเขา พบทั่วไปในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร) ให้คำปรึกษาและจิตบำบัด การจัดการบริการสังคม วิเคราะห์นโยบายสวัสดิการสังคม การพัฒนานโยบายและการปฏิบัติ การจัดการชุมชน การพัฒนาระหว่างประเทศ สังคมและชุมชน การว่าความ การสอน (ในโรงเรียนหรืองานสังคมสงเคราะห์) และการวิจัยทางสังคมและการเมือง
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ได้เปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในระดับปริญญาตรี ได้เปิดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง ในระดับปริญญาโท ได้เปิดการศึกษาทั้งในภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยเปิดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์ และศูนย์พัทยา สำหรับหลักสูตรและการจัดการศึกษามีดังนี้
  • หลักสูตร/โครงการ(ภาคพิเศษ)
  1. 1. ระดับปริญญาตรี (ภาคปกติ)
    1. 1.1 สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ท่าพระจันทร์/ศูนย์รังสิต
    2. 1.2 สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ศูนย์ลำปาง
  2. 2. ระดับปริญญาโท (ภาคปกติ)
    1. 2.1 หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
    2. 2.2 หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต
  3. 3.ระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ)
    1. 3.1 โครงการปริญญาโท สาขาบริหารและนโยบายสวัสดิการและนโยบายสวัสดิการสังคม
    2. 3.2 โครงการปริญญาโท สาขาบริหารงานยุติธรรม
    3. 3.3 โครงการปริญญาโท สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
    4. 3.4 โครงการปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชน ศูนย์พัทยา
  4. 4.ระดับปริญญาเอก (ภาคปกติ)
    1. 4.1 หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารสังคม
การศึกษาภาคปฏิบัติ การศึกษาในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษา ถึงพร้อมด้วยความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และทักษะ (Skill) ทางสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรมทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัตินั้น จะช่วยให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน และช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สังคม สงเคราะห์ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ วิชาชีพต่อไปในอนาคต การฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต มีจำนวน 2 วิชา คือ 1. สค.202 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่มไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์การ ฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ทักษะทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการนำวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบ ผสมผสานไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่ให้บริการ ฝึกให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ เชื่อมโยงการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน การนำเสนอแนวคิดเพื่อปรับปรุงทั้งวิธีการให้บริการและการพัฒนาระบบสวัสดิการ สังคมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในระดับต่างๆ (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)
2. สค.301 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกับชุมชน เมืองหรือชนบท ฝึกให้นักศึกษาสามารถศึกษาชุมชน วิเคราะห์ชุมชน การวางแผนดำเนินโครงการ การปฏิบัติการตามแผนงานการประเมินผลการดำเนินงาน โดยนำแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสานไปใช้ในการศึกษา ฝึกให้นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานกับชุมชน การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานชุมชนทุกขั้นตอน การเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ในการทำงานกับชุมชน (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)
กิจกรรมนักศึกษา คือ งานที่นักศึกษาจัดขึ้นนอกเวลาเรียน ทั้งภายในและนอกสถาบัน อาจเกี่ยวข้องกับการเรียนในหลักสูตรโดยตรง ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวไม่มีการบังคับให้เข้าร่วม เกิดจากความเต็มใจ และสมัครใจของนักศึกษา กิจกรรมของนักศึกษาจัดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อความรู้ ตอบสนองความต้องการและความสนใจของนักศึกษาเอง คือ เกิดความสนุกสนาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมนักศึกษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันสังคมไม่ต้องการคนเก่งทางวิชาการเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการ คนที่มีความสมบูรณ์ทั้งความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้นักศึกษาเปิดมุมมองของตนเองให้กว้างขึ้น จัดการและบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักบทบาทผู้นำและผู้ตาม
การเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ไม่เพียงทำให้นักศึกษาใช้เวลาว่างและเกิดประโยชน์ แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน นักศึกษาที่สนใจกิจกรรม ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม หรือต้องการเป็นสมาชิกชมรม ชุมนุมต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาตร์บัณฑิต(สส.บ.) หลักสูตรใหม่ (ปีการศึกษา 2555-2559) นักศึกษานอกจากจะได้เรียนรู้ "วิชาชีพสังคมสงเคราะห์" อย่างลึกซึ้งทั้งภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติแล้ว ยังจะได้เรียน การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์  เช่น "การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ" "การนำเสนอข้อมูล(Presentation) อย่างมืออาชีพ" "การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูล (Database System)" "ระบบารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System)" และ "การจัดทำโปรแกรมเว็บไซต์ (Web Application)" 

โดยมีกลุ่มวิชาให้เลือกเรียนในชั้นปีที่ 3-4 ดังนี้ คือ

  • กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ด้านครอบครัวและเด็ก
  • กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์การแพทย์
  • กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์สาธารณภัย
  • กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์อุตสาหกรรม
  • กลุ่มวิชาเสริมการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์กระบวนการยุติธรรม

ระดับปริญญาโท  

 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา
          ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษาพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา 

การสอบคัดเลือก
       
          ใช้วิธีสอบข้อเขียนทดสอบพื้นความรู้ทางสังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และการสอบสัมภาษณ์  สำหรับผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานด้านสังคมอย่างน้อย 2ปี หรือผู้บริหารในหน่วยงานทุกระดับ จะสอบคัดเลือกโดยวิธีการสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว  

ระยะเวลาในการศึกษา                    การศึกษาเป็นระบบ 3 ภาคการศึกษา คือ ภาคที่ 1 และภาคที่ 2 เรียนภาคละ 16 สัปดาห์ ๆ ละ 12 ชั่วโมง  ภาคฤดูร้อนเรียน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 12 ชั่วโมง  นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้ภายใน 2 ปี  

การศึกษาดูงาน
       
          นักศึกษามีโอกาสศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศตามความสนใจ สอดคล้องและเหมาะสมกับหลักสูตรหรืออาจจัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนกับสถาบันหรือหน่วยงานภายในหรือต่างประเทศตามที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ